วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555

Datalogic Memor Mobile Computer

วันนี้ขอนำเสนอเรื่อง อุปกรณ์อ่าน บาร์โค้ ชนิด Mobile Computer หรือ เครื่องอ่าน บาร์โค้ด ชนิด ไร้สาย กัน ค่ะ...รุ่นที่จะแนะนำวันนี้คือ รุ่น Memor นะ เป็น เครื่องอ่าน บาร์โค้ด ของแบรนด์ Datalogic ค่ะ

มาดูสเปค เครื่อง กันก่อนเลยนะค่ะ  
» แหล่งกำเนิดแสง: CCD
» ระบบการปฏิบัติการ: Microsoft Windows CE 5.0
» สามารถอ่านบาร์โค้ด:1D
» สามารถสแกนได้ : 104 ±12 สแกน/วินาที
» สนับสนุนเทคโนโลยีไร้สายแบบ
Bluetooth: Yes (IEEE 802.15(optional))
WiFi : Yes (IEEE802.11b/g)
» มาตรฐานการป้องกันสำหรับสภาพแวดล้อม: IP54
» การทนต่อแรงกระแทรกระยะ: 1.2 เมตร
» อุณหภูมิในการใช้งาน: 0° to 50°C / 32° to 122°F
» อุณหภูมิในการเก็บรักษา: ­10° to +65°C / ­14° to 149°F
» Ram Memory: 64 MB
» Flash Memory: 128 MB
» ความละเอียดสูงสุดที่อ่านได้: 4 mils
เห็นสเปคเครื่อง กันไปแล้ว....ถ้ายังไม่ละเอียดถึงใจอีก เข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ลิงค์ ด้านล่างนี้ เลยค่ะ
หรือ ดูเครื่องอ่าน บาร์โค้ด เครื่องพิมพ์ บาร์โค้ด รุ่น อื่น ๆ ได้จากเว็บไซต์

What' S Bacode


Barcode คืออะไร
บาร์โค้ด ( Bar Code )
     คือ สัญลักษณ์รหัสแท่งที่ใช้แทนข้อมูลตัวเลขมีลักษณะเป็นแถบมีความหนาบางแตกต่างกันขึ้นอยู่กับตัวเลขที่กำกับอยู่ข้างล่าง การอ่านข้อมูลจะอาศัยหลักการสะท้อนแสง เพื่ออ่านข้อมูลเข้าเก็บในคอมพิวเตอร์โดยตรงไม่ต้องผ่านการกดปุ่มที่แป้นพิมพ์ ระบบนี้เป็นมาตรฐานสากลที่นิยมใช้กันทั่วโลก การนำเข้าข้อมูลจากรหัสแถบของสินค้าเป็นวิธีที่รวดเร็วและความน่าเชื่อถือได้ของข้อมูลมีสูงและให้ความสะดวกแก่ผู้ใช้งานได้ดี การใช้บาร์โค้ดเพื่อความรวดเร็วทันสมัยต่อเหตุการณ์
รหัสบาร์โค้ด
     ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ส่วนลายเส้นซึ่งเป็นลายเส้นสีขาว (โปร่งใส) และสีดำ มีขนาดความกว้างของลายเส้นตามมาตรฐานแต่ละชนิดของบาร์โค้ด  ส่วนข้อมูลตัวอักษรเป็นส่วนที่แสดงความหมายของข้อมูลลายเส้นสำหรับให้อ่านเข้าใจได้ และส่วนสุดท้ายแถบว่าง (Quiet Zone) เป็นส่วนที่เครื่องอ่านบาร์โค้ดใช้กำหนดขอบเขตของบาร์โค้ดและกำหนดค่าให้กับสีขาว (ความเข้มของการสะท้อนแสงในสีของพื้นผิวแต่ละชนิดที่ใช้แทนสีขาว) โดยแต่ละเส้นจะมีความยาวเท่ากันเรียงตามลำดับในแนวนอนจากซ้ายไปขวา ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อเครื่องอ่านบาร์โค้ด (BarcodeScanner) ในการอ่านข้อมูลที่บันทึกไว้ 
มาตรฐานบาร์โค้ด
     การกำหนดมาตรฐานบาร์โค้ด เป็นวิทยาการการออกแบบสัญลักษณ์ (Symbol Technology)ที่เข้ารหัสแทนข้อมูล เพื่อให้เครื่องอิเล็กทรอนิกส์สามารถอ่านข้อมูลได้โดยอัตโนมัติ โดยที่รูปแบบของบาร์โค้ด ( bar code format ) มีหลากหลายชนิดเพื่อพัฒนาให้เหมาะสมกับการใช้งานในปัจจุบัน แต่ละชนิดมีคุณสมบัติของรูปแบบเฉพาะที่จัดทำเป็นมาตรฐานบาร์โค้ด ซึ่งเริ่มพัฒนากันมาตั้งแต่ปีทศวรรษ พ.ศ. 2510 และมาตรฐานบาร์โค้ดที่มีใช้กันมาก คือ EAN (European Article Number) ซึ่งกำหนดมาตรฐานโดย EAN International ( International Article Numbering Association )
ประเภทของบาร์โค้ด 
     
1. โค้ดภายใน (Internal Code) เป็นบาร์โค้ดที่ทำขึ้นใช้เองในองค์กรต่าง ๆ ไม่สามารถนำออกไปใช้ภายนอกได้
     
2. โค้ดมาตรฐานสากล (Standard Code) ที่เป็นที่รู้จัก และนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก มี 2 ระบบ คือ
               
2.1 ระบบ EAN (European Article Numbering) เริ่มใช้เมื่อปี พ.ศ. 2519 มีประเทศต่าง ๆ ใช้มากกว่า 90 ประเทศทั่วโลกในภาคพื้นยุโรป เอเชียและแปซิฟิก,ออสเตรเลีย,ลาติน อเมริกา รวมทั้งประเทศไทย
             
2.2 ระบบ UPC (Universal Product Code) เริ่มใช้เมื่อปี พ.ศ. 2515 โดยมีการใช้แพร่หลาย
 



ดูข้อมูลเพิ่มเติม ได้จากเว็บไซต์  http://www.quarksystems.co.th นะคะ